ชีวประวัติ
อีริค ฟรอมม์ เกิดปี 1900 ณ เมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี. พ่อของเขาเป็นนักธุรกิจ จากคำบอกเล่าของเขาพ่อของเขาค่อนข้างจะเป็นคนเจ้าอารมณ์. แม่ของเขามักจะมีอารมณ์ซึมเศร้าบ่อยๆ. หรืออีกนัยหนึ่ง วัยเด็กของเขาจึงดูไม่มีความสุขนัก.
เช่นเดียวกับจุง อีริคมาจากครอบครัวที่เคร่งศาสนา แต่กรณีของเขาเป็นยิวที่นับถือคริสต์นิกายออโธด็อกซ์. ตัวฟรอมม์เองต่อมาเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า ผู้วิเศษที่ไม่เชื่อในพระเจ้า(atheistic mystic).
ในชีวประวัติของเขา Beyond the Chains of Illusion, ฟรอมม์ได้พูดถึงสองเหตุการณ์ในช่วงวัยรุ่นของซึ่งมีผลต่อวิถีชีวิตต่อมาของเขา. เหตุการณ์แรกเกี่ยวข้องกับเพื่อนบ้าน:
เธอน่าจะอายุราว 25 ปี เธอเป็นคนน่าประทับใจนอกจากนั้นยังเป็นช่างเขียนภาพ เธอเป็นนักวาดภาพคนเดียวที่ผมรู้จัก. ผมจำได้ว่า เคยได้ยินว่า เธอเคยหมั้นแล้วก็ถอนหมั้น ผมจำได้ว่า เธอชอบไปขลุกอยู่ที่บริษัทพ่อซึ่งเป็นหม้ายของเธอ. เท่าที่ผมจำได้ เขาเป็นชายแก่ที่ไม่น่าสนใจ ไม่มีอะไรน่าประทับ หรืออย่างน้อยก็ในความคิดผม (อาจจะตัดสินด้วยอคติเพราะความอิจฉา). แล้ววันหนึ่งผมก็ได้ยินข่าวที่สะเทือนใจ: พ่อของเธอเสียชีวิตและไม่นานหลังจากนั้นเธอก็ฆ่าตัวตายและเขียนเอาไว้ว่าเธอต้องการให้ฝังร่างเธอไว้กับพ่อ. (p. 4)
อย่างที่คุณสามารถจินตนาการได้, ข่าวนี้มีผลกระทบอย่างมากกับเด็กอายุ 12 ขวบ อย่างอีริค และเขาพบว่าตนเองว่ากำลังถามในหลายๆอย่างที่เราเองก็อาจจะถาม: ต่อมาเขาก็เริ่มค้นหาคำตอบ – อย่างน้อยก็บางส่วน, ตามแนวคิดของฟรอยด์.
เหตุการณ์ที่สองที่สองที่ใหญ่กว่า คือ: สงครามโลกครั้งที่ 1. ในวัยรุ่น เมื่ออายุ 14 ปี เขามีทัศนะที่สุดโต่งว่า ความรักชาติเป็นเรื่องสำคัญมาก. รอบตัวเขามักจะได้ยินเรื่องราวว่า: พวกเรา (ชาวเยอรมัน หรือจะให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ชาวเยอรมันที่เป็นคริสเตียน) เป็นกลุ่มที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คนเขา(อังกฤษและเหล่าสัมพันธมิตร) เป็นพวกที่เห็นแก่ตัวอย่างที่สุดทุเรศ. น่าเกลียดน่าชัง "ความกระหายสงคราม (war hysteria)" ทำให้เขากลัว, และเขาควรที่จะกลัว.
ดังนั้น ถ้าเขาต้องการที่จะเข้าใจบางอย่างที่ไร้เหตุผล-ความไร้เหตุผลของพฤติกรรมที่พบได้ทั่วไป– และเขาได้พบคำตอบบางประการ ซึ่งตอนนี้อยู่ในอยู่ในงานประพันธ์ของคาร์ล มาร์กซ์.
ประวัติโดยสรุป, เขาจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ในปี 1922 และเริ่มทำงานครั้งแรกเป็นนักจิตบำบัด. ในปี 1934 อันเป็นช่วงเวลาที่ชาวเยอรมันจำนวนมากย้ายออกจากเยอรมันนี ตัวเขาเองได้ย้ายไปสหรัฐ โดยได้ตั้งรกรากที่เมืองนิวยอร์ก อันเป็นที่ซึ่งเขาได้พบกับนักคิดหลายคนซึ่งเป็นชาวอพยพมารวมกันอยู่ที่นี่ รวมถึง คาเรน ฮอร์นายซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่ที่เกี่ยวพันกับเขาในหลายๆด้าน.
ในช่วงท้ายของชีวิต เขาย้ายไปสอนหนังสือที่แม็กซิโกซิตี้. เขาได้ทำงานวิจัยที่น่าสนใจหลายชิ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นทางเศรษฐกิจกับบุคลิกภาพแบบต่างๆ. เขาเสียชีวิตในปี 1980 ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์.
ทฤษฎี
เมื่อพิจารณาตามประวัติแล้ว ทฤษฎีของฟรอมม์ค่อนข้างจะอิงกับทฤษฎีของฟรอยด์และมาร์ค. เนื่องจากฟรอยด์ เน้นเรื่องจิตไร้สำนึก แรงขับทางชีวภาพความเก็บกด และอื่นๆ. หรืออีกนัยหนึ่ง ฟรอยด์มองว่า บุคลิกภาพของเราถูกกำหนดโดยชีววิทยา.ตรงกันข้าม มาร์คซ์ถูกกำหนดโดยสังคมของเขาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเศรษฐกิจ.
เขาได้ผสมผสานระบบที่เป็นตัวกำหนดสองตัวที่มีแตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน: แนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพ (freedom). เขามองว่าบุคคลสามารถอยู่เหนือตัวกำหนดทั้งที่อยู่ในทฤษฎีทฤษฎีของฟรอยด์และมาร์ค. อันที่จริง ฟรอมม์ทำให้เสรีภาพเป็นคุณลักษณะศูนย์ของธรรมชาติมนุษย์!
ตามทัศนะของฟรอมม์ มีหลายตัวอย่างที่ตัวควบคุม(determinism)ทำหน้าที่เดี่ยวๆ. ตัวอย่างที่ดีของตัวกำหนดทางชีวภาพแบบเดียวๆที่ชัดเจนที่สุดตามทัศนะของฟรอยด์ คือ พวกสัตว์ต่างๆ (หนึ่งในหลายๆตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย). สัตว์ไม่ต้องกังวลเกี่ยวเสรีภาพ – สัญชาตญาณของมันทำหน้าที่จัดการทุกอย่าง. ยกตัวอย่าง ตัววูดชัคไม่ต้องการรับการปรึกษาด้านอาชีพเพื่อตัดสินว่ามันควรประกอบอาชีพอะไรเมื่อมันโตขึ้น เพราะยังงัยมันก็เป็นตัววูดชัคแน่นอน!
ตัวอย่างที่ดีของตัวกำหนดทางเศรษฐสังคมของมาร์ค คือ สังคมยึดจารีตในยุคกลาง. เหมือนกับตัววูดชัค มีน้อยคนนักที่ในยุคคบกลางที่ต้องการรับการปรึกษาเพื่อการเลือกอาชีพ: แต่ละคนมีโชคชะตา ซึ่งนับว่าเป็นโซ่ตรวนอันใหญ่ของชีวิตเป็นของตนเอง เพื่อจะเป็นเข้มทิศชี้ทางว่าเขาจะทำอะไรบ้าง. โดยพื้นฐานแล้ว ถ้าพ่อของคุณเป็นชาวนา คุณก็จะเป็นชาวนา. ถ้าพ่อของคุณเป็นกษัตริย์ แน่นอนว่าคุณจะเป็นกษัตริย์ด้วยเช่นกัน. และถ้าเป็นผู้หญิง ก็มีบทบาทไม่กี่อย่างเท่านั้นสำหรับคุณ.
ทุกวันนี้ เราอาจจะมองไปที่ชีวิตของคนในยุคกลาง ชีวิตของสัตว์อื่นๆ และสัตว์เล็กสัตว์น้อย. แต่ความจริงก็คือว่า การขาดเสรีภาพที่อธิบายโดยการถูกกำหนดทางชีววิทยาหรือสังคมเป็นเรื่องง่าย. ชีวิตของคุณมีโครงสร้าง ความหมาย ไม่มีขอกังขาใดๆ ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องค้นหาจิตวิญญาณ หากคุณใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมและไม่เป็นทุกข์เพราะวิกฤติอัตลักษณ์.
เมื่อพูดตามประวัติศาสตร์ ชีวิตก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเรียบ และดูยุ่งยากขั้นเมื่อถูกสั่นคลอนด้วยยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance). ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนในสมัยนั้นเริ่มมองว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลแทนที่จะเป็นพระเจ้าเหมือนแต่ก่อนมา. หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เราไม่มองว่าโบสถ์ (หรือถาวรวัตถุตามประเพณีอื่นๆ) เป็นที่ที่เราจะมุ่งไปหา. จากนั้นมาก็เป็นยุคปฏิรูปซึ่งนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดชอบส่วนของแต่ละบุคคลที่จะกอบกู้จิตวิญญาณของตนให้พ้นจากบาป. ถัดมาก็เข้าสู่ยุคการปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยอย่างเช่น การปฏิวัติของอเมริกาและฝรั่งเศส. ไม่นานมานี้เราก็ถูกคาดหวังว่าสามารถปกครองตนเองได้ และจากนั้นก็มาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม อันเป็นการเปลี่ยนการทำกสิกรรมและหัตถกรรม มาเป็นการขายแรงงานเพื่อแลกกับเงินตรา. ด้วยเหตุนี้ เราจึงกลายเป็นลูกจ้างและผู้บริโภคไปพร้อมๆกัน! จากนั้นมาก็เป็นยุคการปฏิวัติสังคมดังที่เห็นในรัสเซียและจีน ซึ่งนำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม(Participatory economics). นอกจากคุณจะต้องรับผิดชอบสวัสดิภาพของตนเองแล้วยังต้องปฏิบัติตามของเพื่อร่วมงานด้วย!
ด้วยเหตุนี้ กว่า 500 ปี อุดมคติแห่งปัจเจกบุคคลซึ่งมีความคิด ความรู้สึก สำนึกศีลธรรม และความรับผิดชอบเฉพาะบุคคลจึงก่อเกิดขึ้นมา. แต่ความเป็นปัจเจกนั้นก็มาพร้อมกับความรู้สึกโดดเดี่ยว(isolation) แปลกแยก (alienation) และสับสน (bewilderment). เสรีภาพจึงเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบาก และเมื่อเราได้รับมาแล้ว ก็มีแนวโน้มว่าเราจะหลบเลี่ยงที่จะรับเอาเสรีภาพ.
ฟรอมม์อธิบายว่า คนเราจะหลีกหนีจากการมีเสรีภาพ(Escape from freedom) ใน 3 ลักษณะคือ:
1. เผด็จการ(Authoritarianism) เราจะหลีกเลี่ยงจากเสรีภาพโดยการหลอมรวมตนเองเข้าเป็นกับคนอื่นๆ โดยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบอบเผด็จการ)อย่างเช่น สังคมในยุคกลาง. วิธีนี้กระทำได้ใน 2 ลักษณะ. อย่างแรก คือยอมรับอำนาจของผู้อื่น เป็นฝ่ายอ่อนน้อมยอมตาม. อีกลักษณะหนึ่งคือ เอาตนเองศูนย์กลางอำนาจ และบังคับให้ผู้อื่นอยู่ในอำนาจของตน. แต่ไม่ว่าทางใด คุณก็เป็นคนที่หลีกหนีจากอัตลักษณ์เฉพาะแห่งตน.
ฟรอมม์อธิบายว่า ตัวอย่างที่สุดโต่งของเผด็จการนิยมได้แก่บุคลิกภาพแบบ มาโซคิสม์(masochism) และ ซาดิสม์(sadism) และชี้ให้เห็นว่า ทั้งสองฝ่ายต่างรู้สึกว่าถูกบังคับให้แสดงบทบาทเฉพาะของตน แม้กระทั้ง พวกซาดิสม์ซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะเป็นฝ่ายมีอำนาจเหนือฝ่ายมาโซคิสม์ไม่มีอิสระที่จะเลือกแสดงพฤติกรรมที่ตนต้องการ. แต่ตัวอย่างของเผด็จการนิยมแบบกลางๆเราสามารถพบได้ทั่วไปในทุกแห่ง. ตัวอย่างเช่น ในหลายชั้นเรียน จะมีสัญญาระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาว่า: นักเรียนจะต้องปฏิบัติตามโครงสร้างการสอนที่กำหนดไว้ และอาจารย์ก็จะสอนตามบันทึกที่กำหนดไว้เท่านั้น. มันดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ และไม่มีอะไรท่าสลักสนใจนัก ในแต่ลักษณะเช่นนี้ นักศึกษาจะหลีกเลี่ยงต่อการรับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง และอาจารย์สอนเองก็หลีกเลี่ยงจากปัญหาที่แท้จริงความเชี่ยวชาญในสาขาที่ตนสอน.
2. การทำลาย (Destructiveness) พวกเผด็จการนิยมจะตอบสนองต่อชีวิตที่เจ็บปวดด้วยการทำร้ายตนเองในทำนองว่า: ดูสิ ถ้าไม่ฉันอยู่เสียแล้ว จะมีอะไรทำร้ายฉันได้มั๊ย? ส่วนพวกอื่นจะตอบสนองต่อความเจ็บปวดโดยการต่อต้านโลก: ถ้าฉันทำลายโลกพังย่อยยับแล้ว ดูสิว่ามันจะทำร้ายฉันได้มั๊ย? การหลีกเลี่ยงจากเสรีภาพแบบนี้ อยู่ในรูปของสิ่งเลวร้ายในชีวิตอันไม่น่าพึงปรารถนาในลักษณะต่างๆ การทำลายทรัพย์สิน(vandalism), การสร้างความอัปยศอดสูให้ผู้อื่น(humiliation), การจอล้างจองผลาญ, อาชญากร, ผู้ก่อการร้าย....
ฟรอมม์อธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าความปรารถนาที่จะทำลายของบุคคลถูกปิดกั้นโดยโอกาส เขาหรือเธอก็จะเปลี่ยนทิศทางความปรารถนานั้นเข้าหาตนเอง. ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของพฤติกรรมทลายตนเอง คือ การฆ่าตัวตาย(suicide). แต่เราอาจจะหมายรวมเอาความเจ็บป่วยหลายๆอย่างเข้าด้วยได้ เช่น การติดสารเสพติด แอลกอฮอล หรือแม้กระทั้งการทำตัวไร้ชีวิตชีวาในงานบันเทิงต่าง. เขาอธิบายสัญชาตญาณแห่งความตายในของฟรอยด์ในทางกลับกันว่า: พฤติกรรมทำลายตนเอง คือ พฤติกรรมทำลายที่ถูกสกัดกั้นไม่ให้กระทำต่อผู้อื่น.
3. การทำตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติ (Automaton conformity) พวกเผด็จการนิยมจะหลีกเลี่ยงการมีเสรีภาพโดยการซ่อนอยู่ภายใต้ชนชั้นเผด็จการ. แต่สังคมเน้นคุณภาพ! จึงมีชนชั้นที่จะให้ซ่อนได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (แม้ว่า ความมั่งคั่งจะมีอยู่มากมายสำหรับใครก็ตามที่ต้องการมัน แต่บางคนก็ไม่ต้องการมัน). เมื่อเราต้องการที่จะหลบซ่อน เราจะหันไปซ่อนในวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)แทน. เมื่อฉันต้องแต่งตัวในตอนเช้า มีหลายหลายที่ฉันต้องตัดสินใจ! แต่เมื่อฉันใคร่ครวญว่า ฉันกำลังจะสวมใส่อะไร ความคับข้องใจของฉันก็อันตรธานไปทันใด. แม้กระทั่งเวลาที่ฉันดูโทรทัศน์ รายการอย่างเช่น รายการพยากรณ์ชีวิตจะบอกฉันอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด. ถ้าฉันมีความคิดเห็น พูด คิด รู้สึกเหมือนคนอื่นๆในสังคม เมื่อนั้น ฉันจะจางหายไปในฝูงชน และฉันไม่จำเป็นต้องรู้ถึงเสรีภาพและความรับผิดชอบของฉัน. พวกตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติจึงเป็นของคู่กับกับพวกนิยมเผด็จการ.
บุคคลที่ใช้การกลมกลืนโดยอัตโนมัติจึงเป็นเหมือนกับกิ้งก่าสังคม (social chameleon): เขาจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปตามสภาพแวดล้อมรอบตัว. เมื่อเขาทำตัวกลมกลืนกับผู้คนที่อยู่รอบกายเขา เขาจะไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป. บางที เขาไม่ได้โดดเดี่ยว แต่ ก็ไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง. ประสบการณ์การทำตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติจะแยกความรู้สึกที่แท้จริงของเขากับพฤติกรรมที่เขาแสดงออกออกจากกัน เหมือนกับทฤษฎีของฮอร์นาย. ในความเป็นจริง เมื่อธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ คือ เสรีภาพ การหลีกเลี่ยงเสรีภาพไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆทำให้เราแปลดแยกจากตัวเราเอง. ดังเช่นฟรอมม์กล่าวไว้ว่า:
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีธรรมชาติแสนประหลาด พวกเขาเกิดมาในธรรมชาติ และพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ. เขาพบหลักพฤติกรรมและการตัดสินใจทดแทนหลักสัญชาตญาณ. เขามีกรอบแนวคิด(frame of orientation) ซึ่งช่วยให้เขาจัดระเบียบภาพสอดภาพของโลกที่คล้องกันในฐานเงื่อนไขสำหรับการกระทำที่สอดคล้องกัน. เขาต่อสู้ไม่ใช่เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิต ความอดอยาก การถูกทำร้ายเท่านั้น แต่ยังต่อสู้เพราะความความโกรธอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น นั่นคือ ความวิปลาส(becoming insane). อีกนัยหนึ่ง เขาป้องกันตัวเองไม่ใช่เพราะกลัวอันตรายจากการเสียชีวิตนั้น แต่ยังป้องกันอันตรายจากการสูญเสียทางจิตใจด้วย. (Fromm, 1968, p. 61)
ข้าพเจ้าอยากเพิ่มเติมว่า เสรีภาพความจริงแล้วก็คือ แนวคิดที่ซับซ้อน และฟรอมม์ได้พูดถึงเสรีภาพส่วนบุคคล “อย่างแท้จริง” มากกว่าเสรีภาพทางการเมือง (ซึ่งมักจะเรียกกันว่า อิสรภาพ (liberty): พวกเราส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมีเสรีภาพหรือไม่ มักมีแนวโน้มที่จะชองแนวคิดเสรีภาพทางการเมือง, เพราะมันหมายความว่า เราสามารถทำอะไรก็ได้ที่เราต้องการ. ตัวอย่างที่ดี คือ พวกซาดิสม์ และพวกมาโซคิสม์ซึ่งมีปัญหาทางจิตวิทยาผลักดันพฤติกรรมของเขา. เขาไม่เป็นอิสระในแง่ของความรู้สึกส่วนตัว แต่เขาจะยินดีต่อสังคมที่เป็นอิสระทางการการเมืองซึ่งกล่าวว่า การที่คนที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะทำอะไร ไม่ใช่หน้าที่กงการของฝ่ายรัฐ! อีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา: เราอาจจะประสบความสำเร็จในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ (ในแง่การเมือง) และเมื่อเราได้มาแล้ว พวกเราก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนน้อมยอมตามและมักจะขาดความรับผิดชอบ. เรามีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่เรามักไม่ใช้ ฟรอมม์เป็นคนที่มีแนวคิดทางการเมืองที่อิสระมาก แต่ฟรอมม์มักจะกล่าวว่า เมื่อพวกเราได้เสรีภาพมาแล้วก็ควรตระหนักอย่างยิ่งว่า พวกเราต้องใช้เสรีภาพนั้นให้เป็นประโยชน์และรับผิดชอบต่อเสรีภาพที่ได้รับ.
ครอบครัว(Families)
รูปแบบการหลีกหนีจากเสรีภาพที่คุณมีแนวโน้มที่จะใช้มักจะเกี่ยวข้องกับกับประเภทของครอบครัวที่คุณเติบโตมา. ฟรอมม์ได้อธิบายถึงครอบครัวที่ไม่มีประสิทธิผลเอาไว้ 2 ประเภท คือ.
1. ครอบครัวแบบอิงอาศัยกันและกัน (Symbiotic families) การอิงอาศัยกันและกัน(Symbiosis) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตสองสิ่งที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากอีกฝ่ายหนึ่ง. ในครอบครัวแบบอิงอาศัยกันและกัน สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว "ครอบงำ" สมาชิกคนอื่นๆ และทำให้สมาชิกที่ถูกครอบงำนั้นไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองได้. ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือกรณีของพ่อแม่ที่ “ครอบงำ”ลูก และทำให้บุคลิกภาพของลูกจะเป็นตัวสะท้อนถึงแรงปรารถนาของพ่อแม่. ในสังคมแบบยึดจารีตเดิมหลายแห่ง กรณีดังกล่าวนี้อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กหญิง.
อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ กรณีที่เด็กเป็นฝ่าย”ควบคุม” พ่อแม่. ในกรณีนี้ เด็กจะเป็นฝ่ายควบคุม และบงการพ่อแม่ ซึ่งมีชีวิตอยู่เพื่อเลี้ยงดูลูก. หากจะมองว่าเป็นเรื่องที่เกินไป ข้าพเจ้าขอบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่ธรรมดามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมจารีตแบบเก่า โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกชาย. ในบริบทของบางวัฒนธรรม มันเป็นส่งจำเป็น: มีวิธีการอื่นอีกหรือไม่ที่เด็กชายจะเรียนรู้ศิลปะการปกครองที่จำเป็นสำหรับวัยผู้ใหญ่ของเขา?
ในความเป็นจริง คนในสังคมจารีตแบบเก่าส่วนใหญ่จะได้เรียนรู้ทั้งการเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยว่าเกือบทุกคนจะมีใครบางคนอยู่หรือตนและอยู่ต่ำกว่าตนในลำดับชนชั้นทางสังคม. จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พวกนิยมเผด็จการจะหลีกหนีจากเสรีภาพที่ถูกสร้างขึ้นในสังคมดังกล่าว. แต่ขอให้จำไว้ว่าทั้งหมดนั่นอาจจะขัดแย้งกับมาตรฐานเรื่องความเท่าเทียมในสมัยปัจจุบัน, นี่คือวิถีชีวิตของเขาเมื่อหลายพันปีก่อน. มันเป็นระบบสังคมที่มีมายาวนานและยังผูกพันแน่นแฟ้นกับ ความรักและมิตรภาพ และคนหลายล้านก็ยังอยู่ในระบบนี้จวบจนวันนี้.
2. ครอบครับแบบห่างเหิน (Withdrawing families) ในความเป็นจริง ลักษณะที่เห็นได้ชัดสำหรับครอบครัวประเภทนี้ คือ ความเย็นชาต่อกันที่ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ นอกเหนือจากการแสดงความรังเกียจแบบเย็นชา(cold hatefulness). แม้ว่าการห่างเหินจะเป็นรูปแบบหนึ่งของครอบครัวที่มักพบเห็นได้ทั่วไป ในบางสังคมในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา นับแต่ชนชั้นกลาง – ชนชั้นพ่อค้า– จนถึงชีวตในกองทัพ.
ความห่างเหินแบบ “เย็นชา”ในสมัยเก่ามี 2 ชนิด พบได้ในยุโรปตอนเหนือและหลายภูมิภาคของเอเชีย และที่ไหนก็ตามที่พ่อค้าเป็นชนชั้นที่มีอิทธิพล. พ่อแม่จะเข้มงวดกับลูกของพวกเขามากๆ ซึ่งถูกคาดหวังให้มีชีวิตที่ดีกว่า ตั้งมาตรฐานเอาไว้ค่อนข้างสูง. การลงโทษอาจไม่ใช่การตบศีรษะเต็มแรงด้วยความโกรธในเวลาทานอาหารมื้อค่ำ แต่การลงโทษจะเป็นไปอย่างเป็นทางการ เต็มไปด้วยพิธีรีตอง บางที่อาจอยู่ในรูปของการปิดไฟและคุยกันในโรงเก็บฟืน. การลงโทษจะกระทำอย่างเลือดเย็น โดยข้ออ้างว่า ทำไป "เพื่ออนาคตที่ดีของลูก."
แบบที่สอง วัฒนธรรมอาจใช้ความรู้สึก และความห่างเหินทางอารมณ์เพื่อเป็นการลงโทษ. ในกรณีนี้ เด็กที่อยู่ในวัฒนธรรมเหล่านี้จะถูกผลักดันให้ประสบความสำเร็จในอะไรก็ตามที่ถูกนิยามว่าเป็นความสำเร็จ.
ครอบครัวที่เคร่งครัดกฎระเบียบมักจะใช้การหลีกหนีจากอิสรภาพในรูปในแง่ทำลายล้างจะถูกเก็บซ่อนไว้จนกว่าจะถึงเวลา (เช่นสงคราม) ที่มันจะปลดปล่อยออกมา. ข้าพเจ้าขอเพิ่มอีกว่า ครอบครัวแบบนี้จะสนับสนุนนิสัยเจ้าระเบียบ (Perfectionism) – การใช้ชีวิตแบบยึดมั่นในกฎระเบียบ จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการหลีกเลี่ยงจากอิสรภาพตามที่ฟรอมม์กล่าวไว้. เมื่อกฎระเบียบมีความสำคัญมากกว่าบุคคล การสร้างความเสียหายจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้.
ครอบครับแบบห่างเหินแบบที่สอง คือครอบครัวปัจจุบันซึ่งมักพบได้ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา เป็นต้น. ทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปชักนำให้หลายคนไม่มั่นใจในการใช่การทำโทษทางกายและรู้สึกผิดที่ยกเด็กขึ้นมาเทียบเท่ากับตนเอง. แนวคิดใหม่ คือการเลี้ยงดูลูกเหมือนเป็นเพื่อน.
พ่อควรเป็นเพื่อที่ดีที่สุดของลูกชาย แม่ควรเป็นที่เพื่อนคู่คิดของลูกสาว. แต่ในกระบวนการควบคุมอารมณ์ พ่อแม่จะต้องใจเย็นมากกว่าเลี้ยงลูกแบบอื่นๆ. ในความเป็นจริงอาจ ไม่มีพ่อแม่ที่ไหนที่สามารถคลุกคลีกับลูกได้ขนาดนั้น. เด็กๆ หากไม่ได้รับคำแนะนำของผู้ใหญ่ก็จะหันหน้าไปพึ่งเพื่อนหรือสื่อที่เขาสนใจ. นี่คือครอบครัวสมัยใหม่ ที่มีความสัมพันธ์แบบห่างเหิน และสนใจแต่โทรทัศน์
การหลีกหนีจากเสรีภาพที่เห็นได้ชัดเจนคือ: การปรับตัวเข้ากับสังคม(automaton conformity). แม้ว่าครอบครัวแบบจะจะเป็นเพียงส่วนน้อยในโลก (ยกเว้นในที่) นี่คือสิ่งที่ฟรอมม์ค่อนข้างกังวล. ดูเหมือนเป็นลางบอกอนาคต.
แล้วครอบครัวแบบไหนถึงจะเป็นครอบครัวที่ดี น่าอยู่และมีประสิทธิภาพ? ฟรอมม์แนะนำว่า คือครอบครัวที่ซึ่งพ่อแม่รับผิดชอบในการสั่งสอนอบรมลูกอย่างมีเหตุผลในบรรยากาศที่อบอุ่นด้วยความรัก. การเติบโตในครอบครัวเช่นนี้ เด็กจะเรียนรู้อิสรภาพและความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมรอบตัวในที่สุด.
จิตไร้สำนึกทางสังคม (The social unconscious)
ครอบครัวส่วนใหญ่มักจะเป็นผลสะท้อนของสังคมและวัฒนธรรมของเรา. ฟรอมม์อธิบายย้ำว่า พวกเรารับค่านิยมผ่านการอบรมเลี้ยงดู. บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมไปว่า สังคมเข้ามาพัวพันกับเรื่องต่างในชีวิตเรามากแค่ไหน. เรามักคิดว่า สิ่งที่ผลักดันให้เราทำสิ่งต่างๆมีอย่างเดียวเท่านั้น คือวิถีธรรมชาติ. พวกเราเรียนรู้ว่า ทั้งหมดเกิดจากจิตไร้สำนึก– จิตไร้สำนึกทางสังคม แน่นอนดังนั้น หลายครั้งพวกเราเชื่อว่าพวกเราแสดงพฤติกรรมไปตามเจตจำนงอิสระของตัวเราเอง แต่ความเป็นจริงแล้วเราเพียงทำตามคำสั่งที่เราเคยทำนั้นเพื่อว่าเราจะได้ไม่ต้องสนใจเรื่องเหล่านั้นอีก.
ฟรอมม์เชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจ คือ สิ่งที่อธิบายจิตไร้สำนึกทางสังคมได้ดีที่สุด. อันที่จริง ฟรอมม์นิยามและตั้งชื่อ บุคลิกภาพทั้ง 5 แบบ ซึ่งเขาใช้คำว่า แนวคิด (orientation) แทนคำว่า เศรษฐกิจ หากคุณต้องการ คุณสามารถใช้แบบทดสอบที่สร้างจากรายการคุณศัพท์ที่ฟรอมม์ใช้อธิบายคำว่า orientation ของเขา.
1. แนวคิดแบบมือขอ (The receptive orientation) คนเหล่านี้มักจะคาดหวังว่าจะได้รับในสิ่งที่ตนเองต้องการ. ถ้าเขาไม่ได้ในทันทีเขาจะรอต่อไป. พวกเขาเชื่อว่า สิ่งของและความพึงพอใจจะมาจากนอกตัวเขา. ชาวนาจำนวนมากมักมีความคิดแบบนี้. นอกจากนี้ยังพบได้ในหลายวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ บุคคลจึงไม่พยายามทำงานหนักเพื่อเลี้ยงชีพตน (แม้ว่า ต่อมาธรรมชาติจะไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนเมื่อก่อน!). นอกจากนี้ยังพบได้ในสังคมชนชั้นล่าง: ทาส เชลย ครอบครัวสวัสดิการ แรงงานอพยพ... และอื่นที่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น.
แนวคิดแบบนี้จะสัมพันธ์กับครอบครัวแบบอิงอาศัยกันและโดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่เด็กถูก "ควบคุม" โดยพ่อแม่ที่เป็นเผด็จการแบบ masochistic (passive). ซึ่งตรงกับแนวคิด oral passive ของฟรอยด์และแนวคิด leaning-getting ของแอดเลอร์ และบุคลิกภาพแบบโอนอ่อนผ่อนตาม(compliant personality). ในรูปแบบสุดโต่ง อธิบายได้โดยคำคุณศัพท์ อย่างเช่น โอนอ่อนผ่อนตาม (submissive) มีความปรารถนา (wishful). ในรูปแบบปานกลาง วัตถุประสงค์อย่างเช่นการเป็นคนคล้อยตามง่าย และการเป็นคนมองโลกในแง่ดีเป็นคำอธิบายได้ดีที่สุด.
2. แนวคิดแบบแสวงหาผลประโยชน์ (The exploitative orientation) คนเหล่านี้จะคาดหวังว่าจะได้รับสิ่งที่เขาต้องการ. ความจริงก็คือ สิ่งต่างๆจะมีค่ามากขึ้นถ้าเข้าได้มาจากผู้อื่น: ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการปล้นชิง แนวคิดที่ขโมยมาจากผู้อื่น ความรักที่ได้มาโดยการใช้อำนาจบีบบังคับ. พบได้ทั่วไปในสังคมชั้นสูงในประวัติศาสตร์ต่างๆ และในสังคมชั้นสูงของอาณานิคมของจักรวรรดิ. อย่างเช่นความคิดของชาวอังกฤษในอินเดียเป็นตัวอย่างเช่น: ฐานะทางสังคมของเขาขึ้นอยู่กับอำนาจเบ็ดเสร็จของเขาที่ได้รับจากชนพื้นเมือง.คุณลักษณะที่เฉพาะตัวหลายอย่างสามารถที่สร้างความสะดวกสบายให้กับคนรอบตัวเขา! เรายังพบได้ในอนารยชนที่เลี้ยงชีวิตด้วยการเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มชนที่เลี้ยงชีวิตด้วยการปล้นสะดม (อย่างเช่น ชาวไวกิ้ง).
แนวคิดแบบแสวงหาผลประโยชน์จะเกี่ยวข้องกับ "การครอบงำ" ของครอบครัวแบบอิงอาศัยกัน และเผด็จการแบบมาโซคิสม์. ซึ่งตรงกับแนวคิด oral aggressive ของฟรอยด์ แนวคิด ruling-dominant ของแอดเลอร์ และแนวคิดบุคลิกภาพแบบก้าวร้าว (aggressive type) ของฮอร์นาย. หรือก็คือ ความก้าวร้าว อวดดี และหลอกลวง ในรูปแบบที่สุดโต่งนั่นเอง. แง่ที่ดี คุนเหล่านี้จะเป็นคน การกล้าแสดงออก มีความภูมิใจในตนเอง มีเสน่ห์.
3. แนวคิดแบบเก็บสะสม (The hoarding orientation) พวกที่ชอบเก็บสะสมก็คิดเอาแต่จะเก็บสะสมอย่างเดียว. ทุกอย่างสำหรับเป็นสิ่งที่ต้องเก็บสะสมและเก็บสะสมให้มากยิ่งขึ้น. แม้กระทั้งคนรักก็เป็นสิ่งที่จะต้องเก็บสะสม, รักษา หรือซื้อหาเอาไว้. ฟรอมม์เห็นด้วยกับแนวคิดของคาร์ล มาร์ก ว่า บุคลิกภาพแบบนี้มักพบได้ในชนชั้นกลาง กลุ่มที่มีฐานะปานกลางที่มีอาชีพค้าขาย และเกษตรกรที่ค่อนข้างมีฐานะ และกลุ่มอาชีพที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเชื่อมโยงบุคลิกภาพแบบนี้กับจริยธรรมเกี่ยวกับการทำงานของชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ที่เคร่งครัด.
การชอบเก็บสะสมจะเกี่ยวข้องกับครอบครัวแบบห่างเหินและการทำลายล้าง.
ข้าพเจ้าของเพิ่มเติมว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับความเป็นคนนิยมความสมบูรณ์แบบด้วย. ฟรอยด์เรียกว่าบุคลิกภาพแบบนี้ว่า anal retentive type, แอดเลอร์เรียกว่า (บางที่อาจรวมถึง)บุคลิกภาพแบบ (avoiding type) และตรงกัน(นิดหน่อย) กับบุคลิกภาพแบบ (withdrawing type) ของแอดเลอร์. ในรูปแบบโดยตรง บุคลิกภาพแบบนี้หมายถึง การที่คุณเป็นคนหัวรั้น(stubborn,) ใจแคบ(stingy) และขาดจินตนาการ(unimaginative). ถ้าคุณมีบุคลิกภาพแบบชอบสะสมระดับกลาง คุณอาจเป็นคนไม่(steadfast) ประหยัดมัธยัสถ์(economical) และมุ่งเน้นประโยชน์(practical).
4. แนวคิดแบบการตลาด (The marketing orientation) คนที่มีบุคลิกภาพแบบการตลาด คิดแต่จะขายอย่างเดียว. ความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าฉันสามารถขายตัวฉันเอง สร้างตัวเองเป็นสินค้า และโฆษณาตนเองได้อย่างไร. ครอบครัวฉัน โรงเรียนของฉัน งานของฉัน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของฉัน – ทุกอย่างเป็นการโฆษณา และจะต้อง “ขายได้.” แม้ความรักเองก็ถูกมองว่าเป็นเพียงความติดต่อสัมพันธ์กันเท่านั้น. คนที่มีบุคลิกภาพแบบการตลาดเท่านั้นที่จะคิดถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการแต่งงาน เมื่อแต่งงานกันแล้วฉันจะให้โน่นนี่แก่คุณ และคุณต้องให้โน่นนี่แก่ฉัน. ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา การแต่งงานจะล้มเลิกและเป็นโมฆะ – ไม่มีอะไรต้องเสียใจ (เรายังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้!) ตามความเห็นของฟรอมม์ นี่คือบุคลิกภาพของสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่. หรือก็คือบุคลิกภาพของเราในปัจจุบัน!
บุคลิกภาพแบบสมัยใหม่นี้ มาจากครอบครัวแบบห่างเหินอย่างเย็นชา, และมีแนวโน้มที่จะใช้การปรับตัวโดยอัตโนมัติ (automaton conformity) เพื่อหลีกหนีจากเสรีภาพ. แนวคิดนี้ไม่ตรงกับของแอดเลอร์และฮอร์นาย แต่อาจตรงกับ ฟรอยด์: นี่คืออย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของบุคลิกภาพในพัฒนาการขั้นแสวงหาความสุขทางเพศขั้นปฐมภูมิที่ยังไม่เด่นชัด คนเหล่านี้จะใช้ชีวิตแบบฟู่ฟ่า. ในแบบสุดโต่ง คนที่มีบุคลิกภาพแบบนักขาย มักจะเป็นนักฉวยโอกาส ทำตัวเหมือนเด็ก ไม่รู้จักกาลเทศะ. แบบที่สุดโต่งน้อยลงมาหน่อยคือ เขาหรือเธอเป็นคนที่ใช้ชีวิตอย่างมีจุดหมาย รักความสนุกสนาน ชอบการเข้าสังคม. ที่น่าสนใจคือ ค่านิยมทุกวันนี้ มักจะปรากฏต่อเราผ่านสื่อสารมวลชน: แฟชั่น การดูแลสุขภาพ การรักษาความเยาว์วัย การผจญภัย ความรัก นวนิยาย เพศสัมพันธ์... สิ่งเหล่านี้มักเป็นที่สนใจของ "พวกรักความหรูหรา(yuppie)" และความเลื่อมใสที่นับวันน้อยลงของเขาหรือเธอ. ทุกอย่างล้วนผิวเผิน! ไปเล่นสนุกกันเลย!
5. แนวคิดแบบเน้นผลิตผล (The productive orientation) เป็นบุคลิกภาพวัฒนะซึ่งหลายครั้ง ฟรอมม์อ้างว่า หมายถึง บุคคลที่ไม่เสแสร้ง. คนแบบนี้คือจะที่ไม่ปฏิเสธธรรมชาติทางกายและสังคม และไม่ห่างเหินจากเสรีภาพและความรับผิดชอบ. คนประเภทนี้จะมาจากครอบครัวที่ให้ความรักโดยไม่มีการครอบงำใช้กฎอย่างมีเหตุผล และให้เสรีภาพในการปรับตัวเข้าหากัน.
สังคมที่ทำให้เกิดแบบเน้นผลผลิต (productive type) (on more than a chance basis) ยังไม่มี ตามความคิดเห็นของฟรอมม์. ฟรอมม์ มีความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่อาจคล้ายคลึงกัน. ฟรอมม์เรียกว่า humanistic communitarian socialism. ซึ่งคำที่เป็นที่รู้จักมานักในอเมริกา ข้าพเจ้าขออธิบาย: มนุษยนิยม หมายถึง เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่สูงส่งกว่า – ไม่ใช่ภาวะที่ทรงพลังอำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งไม่ใช่แนวคิดเกี่ยวกับพระเจ้าของใครบางคน. ชุมชนนิยม (Communitarian) สังคมเล็กๆ (Gesellschaften, ในภาษาเยอรมัน), ซึ่งตรงกันข้ามกับการปกครองแบบใหญ่ หรือองค์กร. สังคมนิยม หมายถึง การที่สมาชิกทุกคนรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพของคนอื่นๆ. ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่เข้าใจว่า เป็นเรื่องยากที่จะโต้แย้งแนวคิดของฟรอมม์!
ฟรอมม์กล่าวว่า แนวคิดสี่แบบแรก (ซึ่งคนอื่นๆอาจเรียกว่า โรคประสาท) ใช้ชีวิตอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า the having mode. แนวคิดสี่แบบดังกล่าวเน้นการบริโภค การรับ การเป็นเจ้าของ.... มันถูกนิยามโดยสิ่งที่พวกเขามี. ฟรอมม์กล่าวว่า "ฉันมี" มีแนวโน้มที่จะเป็น "มันมีฉัน " และเราถูกผลักดันโดยความรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าของของเราเอง!
แนวคิดแบบเน้นผลิตผล หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ, การใช้ชีวิตในรูปแบบอยากเป็น (the being mode). อันเป็นสิ่งซึ่งพวกเราเป็นถูกนิยามโดยการกระทำของเราในโลกนี้. คุณดำรงชีวิตอยู่โดยการหลอกลวง, การมีประสบการณ์ชีวิต, การเกี่ยวข้องกับผู้คนการอยู่กับตนเอง.
เขากล่าวว่า คนส่วนใหญ่, มักใช้ชีวิตแบบอยากเป็น (having mode) ใช้คำเพื่ออธิบายปัญหาของเขา: "หมอ ผมมีปัญหา ผมนอนไม่หลับ. แม้ว่าผมจะมีบ้านสวย มีลูกๆที่น่ารัก และมีชีวิตคู่ที่มีความสุข แต่ผมก็ยังกังวลหลายเรื่อง." เขามาพบนักบำบัดเพื่อจะขัดสิ่งร้ายๆ และรักษาสิ่งดีในชีวิตของเขาเอาไว้ คล้ายกับการขอให้ศัลยแพทย์ตัดเอาถุงน้ำดีของเราออกไป. สิ่งที่คุณอาจจะพูดอาจจะเป็นทำนองว่า "ผมวุ่นวายใจ. ฉันมีชีวิตคู่ที่ผาสุก แต่ก็ยังนอนไม่หลับ...." โดยการที่พูดว่า ฉันมีปัญหา คุณกำลังหลีกเลี่ยงกับการเผชิญความจริงที่ว่าคุณเองเป็นตัวปัญหา – เช่น คุณหลีกเลี่ยงครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะรับผิดชอบต่อชีวิตคุณเอง.
บุคลิภาพ | สังคม | ครอบครัว | การหลีกหนีจากเสรีภาพ |
แบมือขอ | สังคมเกษตร | อิงอาศัยกัน (passive) | เผด็จการ (masochistic) |
แสวงหาผลประโยชน์ | สังคมชนชั้นปกครอง | อิงอาศัยกัน (active) | เผด็จการ (sadistic) |
เก็บสะสม | สังคมชนชั้นกลาง | ห่างเหิน (puritanical) | รักความสมบูรณ์แบบเพื่อทำลาย |
การตลาด | สังคมสมัยใหม่ | ห่างเหิน(infantile) | ปรับตัวเขาหาโดยอัตโนมัติ |
เน้นผลิตผล | มนุษยนิยม ชุมชนนิยม สังคมนิยม | ความรักและใช้เหตุผล | รู้ค่าและยอมรับเสรีภาพและความรับผิดชอบ |
ความชั่วร้าย (Evil)
ฟรอมม์มักสนใจใจการพยายามเข้าใจ คนที่ขี้นชื่อว่าชั่วร้ายอย่างแท้จริงในโลกนี้ – ไม่ใช่ชั่วร้ายเพราะความสับสน ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด โง่เขลา หรือเพราะเจ็บป่วย แต่เป็นคนที่ประพฤติชั่วร้ายหรือทำอะไรเช่นนั้นทั้งที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์: ฮิตเลอร์ สตาลิน ชาร์ลแมนสัน จิม โจนส์ และคนอื่นๆทั้งที่มีในระดับที่รุนแรงและไม่รุนแรง.
บุคลิกภาพทั้งหมดที่เราพูดถึง ทั้งแบบที่มีประสิทธิผลและไม่มีประสิทธิผล(productive and non-productive) ทั้งประเภทอย่างมีและอยากเป็น(having mode or the being mode) โดยทั่วไปแล้วแล้วเป็นอย่างเดียวกันคือ: มันเป็นความพยายามทั้งหมดขณะที่ยังมีชีวิต. เหมือนกันที่ฮอร์นายกล่าวไว้ ฟรอมม์เชื่อว่า โรคประสาทที่น่าสังเวชส่วนใหญ่ อย่างน้อยก็มาจากพยายามที่จะจัดการกับชีวิต. ซึ่งพวกเขาตั้งชื่อว่า biophilous ซึ่งแปลว่า ผู้พิสมัยชีวิต.
แต่มีคนอีกประเภทหนึ่งที่เขาเรียกว่า ผู้พิสมัยความตาย (necrophilous) คนเหล่านี้มีความหลงใหลในทุกอย่างที่เกี่ยวกับ ความตาย เน่าเปื่อย ผุพัง เป็นโรค เป็นความพิสมัยต่อการที่สิ่งมีชีวิตแปรสภาพไปสู่ภาวะไร้ชีวิต บางอย่างที่ไม่มีชีวิต การทำลายเพื่อหาประโยชน์จากการทำลาย สนใจเป็นพิเศษในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกล้วนๆ. นั่นคือ ความพิสมัยต่อการที "สัตว์อื่นที่ต้องน้ำตาตก."
ถ้าคุณคิดย้อนกลับไปสมัยเรียนมัธยมคุณอาจจะจำเรื่องการแต่งกายผิดระเบียบได้: พวกเขาเป็นพวกคลั่งไคล้หนังสยองขวัญตังยง. พวกเขาสร้างแบบจำลองเครื่องทรมานและเครื่องกิโยติน. ชอบเล่นเกมสงคราม. ระเบิดด้วยส่วนผสมเคมีของพวกเขา. ทรมานสัตว์เล็ก. สะสมปืน. หลงใหลในเครื่องยนต์กลไก. เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขามีความสุข. เบียวิสและบัดเฮดเป็นแม่แบบที่อยู่เบื้องหลังเด็กเหล่านี้.
ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าจำได้ว่ากำลังชมการสัมภาษณ์ทางทีวีเกี่ยวกับสงครามเล็กในนิคารากัว. มีทหารรับจ้างอเมริกันมากมายใน และคนหนึ่งในนั้นจ้องตานักข่า. เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธ – บางคนเคยระเบิดสะพาน ตึก หรือทหารฝ่ายตรงข้าม. เมื่อถูกถามว่าเขาเข้ามาทำงานนี้ได้อย่างไร เขายิ้มและบอกกับผู้รายงานว่า ไม่ชอบคุยเรื่องที่เท่าไหร่. คุณเห็นมั๊ย เมื่อตอนเขาเป็นเด็กเขาชอบเอาประทัดยัดก้นนกตัวเล็กที่เขาจับได้ จุดไฟแล้วก็ปล่อยมันไป แล้ก็มองมันระเบิด. ชายคนนี้เป็นพวกพิสมัยความตาย.
ฟรอมม์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า เกี่ยวกับการเกิดคนประเภทนี้. เขาแนะนำว่า อาจมีความเชื่อโยมทางพันธุกรรมบางอย่างซึ่งป้องกันเขาจากความรู้สึกหรือการตอบสนองต่อความรู้สึก. อาจจะเป็นเรื่องราวในชีวิตที่เต็มไปด้วยความคับข้องใจซึ่งบุคคลใช้มันเพื่อหลบเลี่ยงเรื่องร้ายแรงในชีวิต. และและประการสุดท้าย เขาแนะนำว่า มันอามีสาเหตุมาจากการเติบโตมากับแม่ที่มีบุคลิกภาพแบบพิสมัยความตาย (necrophilous) ดังนั้น เด็กจึงไม่มีแบบอย่างในการแสดงความรัก. มันอาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากหลายปัจจัยผสมกัน (some combination of these factors is at work). และยังคงมีแนวคิดว่า คนเหล่านี้รู้ดีว่าตนเองกำลังทำอะไร และมีสติสัมปชัญญะขณะทำวคามชั่ว และเลือกที่จะทำมัน. ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะศึกษาให้ละเอียดเพิ่มเติม!
พิสมัยชีวิต (Biophilous) | พิสมัยความตาย (Necrophilous) | |
Having Mode | Receptive Exploitative Hoarding Marketing | |
Being Mode | Productive |
ความต้องการของมนุษย์ (Human Needs)
ฟรอมม์ก็เหมือนกับหลายคนที่เชื่อว่า มนุษย์มีความต้องการมากกว่าความต้องการทางกายซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐาน ซึ่งฟรอยด์และนักพฤติกรรมนิยมและนักคิดใช้อธิบายถึงพฤติกรรมมนุษย์. ฟรอมม์เรียกว่า ความต้องการของมนุษย์ (human needs), ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความต้องการของสัตว์(animal needs) ที่ค่อนข้างพื้นฐาน. และอธิบายเพิ่มเติมว่า ความต้องการของมนุษย์สามารถอธิบายได้ด้วยคำอธิบายง่ายๆว่า: ความต้องการของมนุษย์ คือ การค้นหาคำตอบว่า เขามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร.
ฟรอมม์กล่าวว่า บางที เป้าหมายหลักของวัฒนธรรม อาจเป็นอาจตอบคำถามได้ดีทีสุด. ฟรอมม์กล่าวว่า วัฒนธรรมทั้งปวงก็เหมือนกับศาสนาที่พยายามอธิบายความหมายของชีวิต. และบางวัฒนธรรมทำได้ดีกว่านั้น.
มุมมองในแง่งบของการแสดงความต้องการนี้คือการพูดว่า พวกเราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความวิปลาส (need to avoid insanity) และเขานิยามว่า โรคประสาท ว่าเป็นความพยายามที่จะพึงพอใจกับกับคำตอบที่ไม่เหมาะสมกับเรา. เขากล่าวว่า โรคประสาททุกชนิดเป็นศาสนาส่วนบุคคล (Private religion) ชนิดหนึ่ง ที่พวกเราหวังพึ่งเมื่อวัฒนธรรมไม่สร้างความพึงพอใจให้กับเราได้อีกต่อไป. เขาอธิบายความต้องการของมนุษย์เอาไว้ 5 ประเภท ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ (Relatedness)
ในฐานะที่เป็นมนุษย์ พวกเราตระหนักดีว่าความเป็นแปลกแยกระหว่างเราและคนอื่นและพยายามที่จะเอาชนะ. ฟรอมม์เรียกว่าต้องการผูกพัน (need for relatedness) และมองว่าความรักคือ ความรู้สึกที่กว้างที่สุด. ฟรอมม์กล่าวว่า ความรัก "คือความเป็นหนึ่งเดียวกับบุคคลหรือบางสิ่งนอกเหนือตนเองภายใต้เงื่อนไขของการรักษาความแตกต่าง (separateness) และเอกภาพ (integrity) ไว้ในตัวคนคนเดียว." (หน้า 37 ของหนังสือ The Sane Society). มันช่วยให้เราอยู่เหนือ (transcend) ความแตกต่างของเราเองโดยไม่ต้องปฏิเสธความเป็นหนึ่งเดียวของเราเอง.
ความต้องการ บางครั้งก็มีอำนาจจนเราต้องแสวงหาโดยใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม. ตัวอย่างเช่น บางคนต้องการกำจัดความโดดเดี่ยวของตนเองโดยการโอนอ่อนตามผู้อื่น กลุ่ม หรือ แนวคิดเกี่ยวกับพระเจ้า. บางคนก็พยายามที่จะกำจัดความโดเดี่ยวโดยการพยายามที่ใช้อำนาจเหนือบุคคลอื่น. ไม่ว่าโดยวิธีการใดข้างต้นล้วงไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับเขาได้: ความรู้สึกแปลกแยกของเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้.
วิธีการหนึ่งที่บางคนพยายามที่จะเอาชนะคามต้องการนี้คือ การปฏิเสธความต้ององการ. ฟรอมม์เรียก สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความสัมพันธ์ว่า การหลงไหลตนเอง (narcissism). การหลงใหลตนเอง (Narcissism) – การหลงรักตนเอง – เป็นธรรมชาติของเด็ก ที่ไม่สามารถรับรู้ว่าตนเองเป็นหนึ่งต่างหากจากโลกและคนอื่นๆ. แต่ในผู้ใหญ่ การหลงใหลตนเอง เป็นสาเหตุของพยาธิสภาพ. อย่างเช่น อาการจิตเภท(schizophrenic) คนที่หลงใหลตนเองมีความเป็นจริงอยู่อย่างเดียวเท่านั้น: คือ โลกแห่งความคิด ความรู้สึก และความต้องการของตัวเขาเอง. โลกของเขา คือสิ่งที่เขาต้องการจะเป็น และเขาก็สูญเสียการติดต่อกับความเป็นจริง.
2. การสร้างสรรค์ (Creativity)
ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะเอาชนะ อยู่เหนือ(transcend) ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ของเรา: ความรู้สึกว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใครสักคนสร้างขึ้นมา. เราต้องการที่จะเป็นผู้สร้าง. การสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายรูปแบบ: เราให้กำเนิดลูกหลาน ปลูกพืช สร้างภาชนะ วาดภาพ เขียนหนังสือ และรักคนอื่น. การสร้างสรรค์ แท้จริงแล้วก็ คือ การแสดงความรัก.
โชคร้ายที่บางคนหาหนทางแหง่การสร้างสรรค์ไม่เจอ. เมื่อคับข้องใจ พวกเขาจะพยายามเอาชนะการเป็นผู้ถูกกระทำด้วยการเป็นผู้ทำลาย (destroyer). การทำลายจะทำให้ฉัน "อยู่เหนือ" สิ่งต่างๆหรือบุคคลที่ฉันทำลาย. มันทำให้ฉันรู้ว่าตนเองมีพลังอำนาจ. เราสามารถที่จะเกลียดและรัก. แต่ในที่สุดแล้ว มันไม่ช่วยให้เราได้สัมผัสความรู้สึกมีการอยู่เหนือ เหมือนอย่างที่เราต้องการ.
3. การมีสังกัด (Rootedness)
พวกเราต้องการมีสังกัด. เราต้องการที่จะรู้สึกว่าทุกแห่งเป็นเสมือนบ้านของเรา แม้กระนั้น ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เราก็มีบางอย่างที่แปลกแยกจากโลกตามธรรมชาติ.
รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือการผูกพันอยู่กับแม่ของเราเอง. แต่การที่จะเติบโตขึ้น หมายความว่า เราต้องห่างเหินจากอ้อมอกของมารดา. หากไม่ยอมออกห่างจากมารดา ฟรอมม์เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า การผิดประเวณีทางจิตวิทยา(psychological incest). เพื่อที่จะจัดการกับความยุ่งยากของโลกวัยผู้ใหญ่ เราต้องแสวงหาสังกัดที่ใหม่ และกว้างใหญ่ขึ้น. เราต้องแสวงหาภราดรภาพ(brotherhood) (และภคินีภาพ) กับเพื่อนมนุษย์.
ความต้องการชนิดนี้ มีแง่มุมทางด้านพยาธิสภาพด้วย: ตัวอย่างเช่น, คนไข้จิตเภทจะพยายามที่ถอยหลังเข้าสู่ภาวะเหมือนเมื่อครั้งที่อยู่ในครรภ์มารดาที่ซึ่ง คุณอาจจะพูดว่า สายสะดือยังไม่ถูกตัด. เช่นเดียวกับคนที่มีอาการประสาทที่กลัวการออกจากบ้านแม้กระทั่งไปเอาจดหมายที่หน้าบ้าน. พวกคลั่งกลุ่มของตน ประเทศชาติ ศาสนาของตนเท่านั้น ว่าเป็นสิ่งทีดีที่สุด และเป็นจริง. คนที่มีความคิดเห็นแตกต่างเป็นคนอันตราย ต้องหลีกเลี่ยงหรือถูกกำจัด.
4. การรู้สึกว่าตนเองมีเอกลักษณ์(A sense of identity)
"มนุษย์อาจจะถูกนิยามได้ว่าเป็นสัตว์ที่สามารถพูดได้.'" (p 62 of The Sane Society) ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะรู้สึกถึงอัตลักษณ์(Identity) แห่งปัจเจกบุคคล(individuality) เพื่อจะรักษาสมดลย์.
บางครั้ง ความต้องการนี้ก็มีอำนาจผลักดันให้เราแสวงหามัน ตัวอย่างเช่น การทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มีสถานภาพหรือพยายามที่พยายามที่จะปรับตัวให้ได้มากที่สุด. บางครั้งพวกเราก็ทำให้ชีวิตเราถดถอยลงเพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม. แต่นี่เป็นเพียงอัตลักษณ์ที่จอมปลอม เป็นอัตลักษณ์ที่เราได้จากคนอื่น แทนที่จะเป็นอัตลักษณ์ที่เราพัฒนาขึ้นเองและ และอัตลักษณ์นั้นก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้เรา.
5. กรอบแนวคิด (A frame of orientation)
สุดท้าย พวกเราต้องการที่จะเข้าใจและโลกและสถานที่ต่างๆ. อีกครั้ง, สังคมของเรา –และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแง่มุมทางศาสนาของวัฒนธรรมเรา – ที่มักจะให้คำอธิบายสิ่งต่างให้เราทราบ. หลายอย่าง อย่างเช่น ตำนาน ปรัชญา และศาสตร์ต่างที่ให้แนวคิดแก่เรา.
ฟรอมม์กล่าวว่า ความต้องการที่จำเป็นจริงๆมี 2 อย่าง: อันดับแรก พวกเราต้องการกรอบแนวคิด (frame of orientation) เกือบทุกอย่างที่เราจะทำ. แม้ว่า สิ่งที่เลวร้ายอย่างหนึ่งจะดีกว่าอีกอย่างหนึ่ง! และทำให้คนคนนั้นถูกลวงอยู่บ่อยครั้ง. เราต้องการที่จะเชื่อ แม้ว่า บางครั้งจะเป็นผลร้าย. หากพวกเราไม่ต้องการคำอธิบายแบบคร่าวๆ เราจะสร้างคำอธิบายบางอย่างขึ้นมา โดยใช้การอ้างเหตุผล(rationalization).
ประการต่อมา คือ พวกเราต้องการที่จะมีกรอบแนวคิดที่ดี มีประโยชน์ และถูกต้อง. นี่คือ ที่ซึ่งเหตุผลเข้ามาเกี่ยวข้อง. นี่คือสิ่งดีๆที่พ่อแม่และคนอื่นๆอธิบายโลกและชีวิตของเราให้เราทราบ แต่ถ้าไม่มีละ, มันจะเป็นอะไรดี? กรอบแนวคิดต้องมีเหตุผล.
ฟรอมม์ยังเพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง เขากล่าวว่า พวกเราไม่ต้องการปรัชญาและวิทยาศาสตร์แบบเย็นชา. เราต้องการกรอบแนวคิดที่ให้ความหมายแก่เรา. เราต้องการที่จะเข้าใจ
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากๆนะครัฟ
ที่แบ่งปันความดี
เราชอบศึกษาจิตวิทยา
และทฤษฏีวิเคราะห์บุคลิกภาพ
^^
ถ้ามีบทความดีๆส่งบอกได้ที่
reaw008@gmail.comm
แสดงความคิดเห็น